วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การประเมินและดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย


Palliative care คือ (WHO definition 2010)

การดูแลที่เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ที่มีปัญหา life-threatening illness (ไม่เฉพาะแต่cancer)

    โดย early identification (ตั้งแต่วินิจฉัย) & impeccable(perfect) assessment

    เพื่อการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว
 
ควรสื่อกับผู้ป่วยว่า “แม้ไม่มีทางรักษาให้หายขาดแต่มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้”
 
การประเมินผู้ป่วยระยะสุดท้าย
1.       ประเมินความเข้าใจต่อภาวะความเจ็บป่วยของผู้ป่วยต่อโรคที่เป็น (patient’ s idea) àความคิด ความรู้สึก และความคาดหวังเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วย  ระดับความสามารถในกิจวัตรประจำวันหรือระดับการดูแลที่ใช้
2.       ประเมินความเข้าใจต่อภาวะความเจ็บป่วยของครอบครัวต่อโรคที่ผู้ป่วยเป็น (family’ s idea) àความคิด ความรู้สึก และความคาดหวังเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วยของญาติ 
3.       ระยะของโรคและอาการที่ผู้ป่วยเป็น
4.       ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย             ประเมิน pain & symptom, อาการอื่นๆที่พบบ่อยได้แก่ ปวด อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ซึมเศร้า   วิตกกังวล ง่วงซึม เบื่ออาหาร หอบเหนื่อย
5.       ภาระที่ผู้ป่วยยังไม่ได้ทำ หรือยังทำไม่สำเร็จ(unfinished business) à ใช้เทคนิคการขอพร 3 ประการ(3 wish) : สมมติมีพรวิเศษ 3 ข้อ ผู้ป่วยอยากขออะไร  คำตอบที่ได้จะช่วยให้ทีมตั้งเป้าหมายได้ตรงความต้องการผู้ป่วยมากขึ้น
6.       ภาระของครอบครัวและความลำบากของผู้ดูแล (care giver burden)
7.       การวางแผนการดูแลรักษาล่วงหน้า  การทำพินัยกรรมชีวิต (living will)
a.       การรักษาทางกาย       à วิธีการรักษาต่างๆเมื่ออาการแย่ลง อยากให้ดูแลรักษาอย่างไร  โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ:  การCPR 2ท่อ= ET & NG tube, 3 เส้น= IV,transfusion,ATB
b.       การทำพินัยกรรมชีวิต à ถ้าผู้ป่วยหมดสติ จะให้ใครเป็นคนตัดสินใจแทน(Power Of Attorney, สถานที่ที่ต้องการรับการรักษาและเสียชีวิต


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น