คือการประเมินสภาวะผู้ป่วยผู้สูงอายุในภาพรวม นอกเหนือจากประวัติการเจ็บป่วยและการตรวจร่างกายของผู้ป่วยนั้นจะต้องพิจารณาปัจจัยทางสังคม
เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมและสภาพจิตใจร่วมด้วย
โดยการประเมินที่ใช้ในผู้ป่วยสูงอายุได้แก่ Comprehensive Geriatric Assessment : CGA ซึ่งประกอบด้วย
-
การซักประวัติ
-
การตรวจร่างกาย
-
Functional
assessment
|
-
Cognitive
assessment
-
Psychological
assessment
-
Screening
for common problem
|
อยู่กับใคร/ใครเป็นผู้ดูแล, ความสัมพันธ์ในครอบครัว
|
กิจกรรมประจำวัน, Activity of Daily Living –
ADLs
|
บ้านเป็นอย่างไร-นอนที่ไหน , ต้องใช้บันไดไหม ,
ห้องน้ำอยู่ไหน , มีรั้ว
|
ฐานะทางเศรษฐกิจ
|
การซักประวัติ: นอกจากการซักประวัติการเจ็บป่วยตามปกติแล้ว
จะต้องเน้น social history มากกว่าผู้ป่วยทั่วไป
เพราะมีความสำคัญในการเข้าใจทั้ง context และ function
ของผู้ป่วย เช่น
การตรวจร่างกาย: นอกจากการตรวจร่างกายในระบบปกติแล้ว
มีอีก 3 ระบบ นั้นคือ function testing , cognitive ,
psychological assessment
Functional
assessment : functional testing ที่ควรทำในทุกคนก็คือ
การตรวจ transfer , gait , balance
·
การตรวจ transfer ทำโดยการให้ผู้ป่วยลุกขึ้นจากท่านั่งโดยไม่ให้ใช้มือ
ซึ่งถ้าไม่สามารถทำอาจหมายถึง quadriceps weakness or lower extremity
weakness และสามารถทำนายปัญหาในอนาคตได้
·
การตรวจ balance ทำได้โดยผู้ป่วยยืนสองขาตามปกติ และยืนขาเดียวดูการทรงตัวของผู้ป่วย
·
การตรวจ gait โดยใช้ get up and go test
โดยให้ผู้ป่วยลุกขึ้นจากท่านั่งแล้วเดินระยะทาง 3 เมตร แล้วเดินกลับมานั่ง ถ้าทำได้ภายใน 10 วินาทีถือว่าปกติ
และถ้าเกิน 30 วินาที ถือว่า dependent
Cognitive
assessment : ถ้าทำ brief screening แล้วถ้าผิดปกติ จึงทำ full
dementia work-up การทำ screening ที่ใช้บ่อยที่สุดคือ
3 word recall เพราะ short term memory loss จะเป็น cognitive domain ที่เสียก่อน ถ้าทำ screening
test แล้วถ้าพบความผิดปกติ ควรทำ full screening เช่น MMSE
Psychological assessment :ปัญหาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบบ่อย
การ screen หาโรคซึมเศร้าอาจทำได้ง่ายๆ
โดยการถามผู้ป่วยว่ารู้สึกเบื่อชีวิตหรือไม่มีความสุขเลยหรือเปล่า (2Q)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น